
580714_ธรรมาธรรมะสงคราม ปฏิบัติวิญญาณฐีติ ๗ ให้เป็นลำดับ(คลิกชื่อเพื่อดาวโหลดเอกสาร), คลิกที่นี่เพื่อดาวโหลดเสียง
พ่อครูว่า… วันนี้วันอังคารที่ ๑๔ ก.ค. ๒๕๕๘ ….อาตมานี่พ้นโลกทางโน้นเขามา ๔๕ ปีแล้ว ก็พูดๆๆๆ จนกระทั่งไปหาทางพูด ไปจ่ายตังค์เดือนหนึ่งหลายล้าน ถ่ายทอดคำพูดให้คนอื่นได้ฟัง จนแสนจนก็ยังอุตหาห์กระจายคำพูดนี้ไป คนก็ฟังน้อยอีก ก็ไม่เป็นไร จะฟังมากหรือน้อยก็แล้วแต่ คนไม่สนใจจริงๆ ยุคนี้เขาก็หลงงมงายกับสุขโลกีย์ที่เป็นสุขเท็จอยู่
อาตมาซาบซึ้งในหลวง ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ท่านตรัสชัดเจน ว่าคนเกิดมาจะไปหลงรวยกันหมดไปไม่รอด จะบริหารบ้านเมืองให้รวยกันหมดไม่ได้ ต้องมาเป็นแบบคนจน
อาตมานี่พูดอย่างไรคนก็ไม่ฟัง แต่ในหลวงท่านตรัสไว้ เอาก็เอาไม่เอาก็แล้วไป คนไม่กระดิกหูเลย อาตมาเดาไม่ออกนะ ว่าคนที่ได้ฟังพระราชดำรัสในหลวง ที่ว่าขาดทุนของเราคือกำไรของเรา ท่านก็กระจายไปตามพระวิสัยของท่าน เขาไม่เข้าใจก็นิ่งแสดงว่าต้องการคำอธิบายก็อธิบายต่อ จะบริหารประเทศแบบคนจน เขาก็ว่าจะบริหารได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้สำหรับเขา มันนึกไม่ออก หาทางแก้ไม่ได้ ที่แท้ว่าจะต้องมาแก้ที่ตนเอง ต้องเอาโลกุตระมาปรับใช้กับตน ก็น่าเห็นใจว่า โลกุตระก็หาได้ยาก แม้กระแสหลักก็ไม่รู้โลกุตระ ทำไม่ได้ ก็เห็นใจว่าเขาไม่สามารถรู้ได้ ก็พากเพียรไป
อาตมาก็จะอยู่ไปอีก ๗๐ ปีเพื่ออยู่พิสูจน์ทฤษฎีที่ว่า ขาดทุนของเราคือกำไรของเรา ที่บอกว่าบริหารแบบคนจนทำอย่างไร
เมื่อวานนี้ได้พูดถึงพระฉันนะ พระวักกลิ พระโคธิกะ ซึ่งพระโคธิกะท่านไม่ได้ป่วยหนักอะไร แต่ท่านบวชแล้วสึก คือได้เจโตโลกียะ บวชสึกถึง ๖ ครั้ง
ซึ่งคำว่า กาย แล้วทิ้งกายนี้ และยึดมั่นกายอื่น กายคือธรรมะสอง ต้องทำธรรมะสองให้เป็นหนึ่งได้ ในสอง ซึ่งเวทนานั้นจากเวทนาสอง ก็ทำให้เป็นหนึ่งได้ ทำให้เป็นเอกบุรุษ คือปุริสสินทรีย์
ต้องเข้าใจเวทนา ๑๐๘ ซึ่งก็คือเจตสิกต่างๆ แจกละเอียดเป็นเจตสิก ๕๒ เจตสิก ๘๙ แล้วก็เรียนรู้รูป ๒๘ เรียนรู้องค์ประชุม รูปนาม นามก็คือ นาม ๕ อย่าง และรูป ๒๘
นามที่เรียกว่า นามกาย และรูปที่เป็น รูปกาย
องค์ประชุมของนาม คืออาการจิต ตนเองก็อยู่กับอาการความรู้สึกนั้นเรียกว่า นามกาย
ส่วนรูปกาย คือองค์ประชุมของรูปนาม ที่เราไปรู้นามนั้นเข้า สิ่งที่ถูกรู้เรียกว่ารูป รูปที่มีนามประชุมอยู่ เรียกว่า รูปกาย ทั้งนามกายและรูปกาย ต้องรู้ได้ด้วยอาการ ลิงค นิมิต อุเทส หากไม่มีอาการไม่มีทางรู้
อาการมันมีจริงในจิต แต่คุณไม่ได้เรียน เรียนไม่ถูก เรียนแล้วก็ปฏิบัติแบบอ่านไม่ออก แม้จะผัสสะแล้ว มีปฏิฆสัมผัสโสแล้ว มันเกิดเป็นการปฏิ คือ Action และ Reaction เกิดการควบแน่นคือ ฆ คือนามธรรม ที่มีอาการควบแน่น สัมผัสโส เรียกว่า นามกาย
แม้แต่แปลคำว่า ปฏิฆะไม่ใช่ความโกรธนะ แต่เป็นอาการสะท้อนไปสะท้อนมา ไม่นิ่งกระทบกระแทกกันอยู่ ไม่สบาย ร้อนใจคือปฏิฆะ แต่ถ้าสภาพราคะมันชื่นใจไม่ร้อนใจมันดูดด้วย
ที่แปลภาษาซ้อนคือเอาจากสภาวะที่เป็นจริงมาขยายให้ฟัง คุณจะอ่านปฏิฆสัมผัสโสต้องอ่านอาการจริงนั้นได้ คุณจะรู้อาการจากปฏิฆสัมผัสโส จากผัสสะแล้วอ่านนามธรรมของเรา เช่นสุขเวทนา คือความรู้สึกสุขต้องอ่านอาการนี้ออก แม้อาการนี้ ไม่มี
นามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต
อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึง
ปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
แม้จะเรียกชื่อว่า เวทนานี้คือสุข ทุกข์ก็ไม่ได้เพราะไม่ได้กำหนดรู้อาการ ลิงค นิมิต อุเทส
ไม่รู้อาการของนามกาย ที่เป็น สุข เป็นทุกข์ แม้แต่อาการตัณหา อาการกาม มันก็เป็นของมันเอง ในนามกาย เราต้องรู้มีญาณปัญญาหรือสัญญาเข้าไปเรียนรู้กำหนดรู้เวลามันเกิดจริงสัมผัสจริง เป็นปฏิฏสัมผัสโส ถ้าไม่มีชื่อเราก็จะขานชื่อของมันได้ ว่าอ๋อ อย่างนี้เอง อาการสุขเวทนา อาการนี้ทุกขเวทนา อาการอย่างนี้โกรธ เป็นโทสะมูล อย่างนี้ราคะ โลภะ ก็จะรู้จักอธิวจนะ กำหนดชื่อเรียกชื่อได้
เรามาทวน สัตตาวาส ๙ หรือวิญญาณฐิติ ๗ ล.๑๐
[๖๕] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน
คือ
๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวกพวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑
แต่ก่อนเราไม่รู้ว่าจิตเรา เป็นอย่างไร ดีอย่างโลกียะก็เป็นสมมุติเทพ ที่มีความสุข เขาถือว่าดีกว่าความทุกข์ คือสุขทุกข์โลกีย์ สุขได้สมใจกิเลส ได้ภาคภูมิใจ แม้แต่ได้ทำคุณงามความดีโลกีย์ ส่วนเป็นเทพจิตวิญญาณ เป็นอุบัติเทพ เป็นเทพที่รู้จักทิศทางเข้ากระแส โดยเฉพาะอ่านมโนปวิจาร ๑๘ ว่าอาการมันเข้ากระแสโสตาปฏิปัณนะ ทวนกระแสใจที่แม้จะกดข่มก็รู้ จะเกิดปัญญาก็รู้ว่าเข้ากระแสง่ายกว่า จะอ่านอาการเหล่านี้ออก เห็นของตนเองเลย
จิตมนุษย์คือจิตสูง หากเป็นอบายก็รู้ แม้แต่จิตเราเป็นจิตดี มีกตเวทิตา เสียสละ เป็นกัลยาณธรรมก็รู้อาการ แต่ไม่รู้จิตเจตสิกที่เป็นปรมัตถ์ แต่รู้ความดีต่างๆ ขยันอดทน เสียสละ กตัญญู ก็พอรู้ว่าดี ก็ทำได้ แต่เป็นปรมัตถ์ต้องไปอ่านอาการ ลิงค นิมิต อุเทส เป็นกิเลสที่เป็นสักกายะ แล้วทำให้กายของสัตว์โอปปาติกะตายได้ เช่นสัตว์อบาย แต่ก่อนมีอินทรีย์กำลังแรง แต่ตอนนี้มันลดลง แล้วมันห่างไปเบาลง มีความถี่ลดลง เราจะรู้ลิงค ความแตกต่างพวกนี้ มันช้า หรือเร็ว ห่างหรือใกล้ เราจะเกิดจริงเป็นจริงในใจเราหมด
จะอ่านออกว่าสัตว์นรก วินิปาตะ เปรต อสุรกาย แจกเป็นอบายภูมิ ๔ ก็รู้ หากนรกก็ร้อนเร่ารุนแรงหนัก ถ้าเป็นเปรตก็อยากตัณหาแรง ถ้าแรงก็เป็นสัตว์นรก หากไม่รู้ก็เป็นเดรัจฉาน หากรู้แต่ไม่กล้าทำดีก็เป็นอสุรกาย เราก็รู้อาการทั้ง ๔ นี้ให้รู้ลิงคะ เราก็จะอ่านออก ผู้ที่มีกายต่างกัน สัญญาต่างกัน
สัญญาของคนอวิชชามันก็ไม่รู้เรื่อง โดยเฉพาะคนอวิชชา กายเขาก็เข้าใจว่าคือร่าง ส่วนใจไม่รู้เรื่องเลย อาการทางใจ แต่บางพวกอ่านอาการทางใจออกแต่มิจฉาทิฏฐิ จึงเห็นกายต่างกันสัญญาต่างกัน
ใครที่สัญญาว่า กายของเทวดาต้องมีรูปร่าง ถ้าของไทยใส่ชฎาด้วย ถ้าของฝรั่งก็มีมงกุฏ ถือไม้วิเศษก็แล้วแต่จะสัญญากำหนดหมายไป ก็กำหนดหมายรูปว่าต่างกัน คำว่า นามก็เข้าใจไม่ได้แม้แต่คำว่ากายกัน เขาเข้าใจว่าคือรูปร่างไม่ใช่อาการทางใจนะ
ผู้เรียนมิจฉาทิฏฐิก็เข้าใจว่า กายคือเป็นรูปร่างไม่ได้ฟังสัทธรรม จากสัตบุรุษ ไปฟังแต่บุรุษที่เป็นสัตว์ ก็เลยไม่รู้เรื่อง ไม่มีทางรู้กายที่เป็นปรมัตถ์ เพราะมิจฉาทิฏฐิ
๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องในชั้นพรหมผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณ ฐิติที่ ๒
มารู้ปฐมฌานขั้นที่ ๑ สามารถลดกิเลส ทำให้กิเลสนิวรณ์ ๕ หมดไปได้ พวกสายนั่งหลับตาก็พอรู้อาการของนิวรณ์ ๕ ได้ พวกมิจฉาทิฏฐิ เป็นแต่ในรูปภพ อรูปภพ ที่ไปนั่งหลับตา แต่ว่าพวกที่สัมมาทิฏฐิจะเห็นตั้งแต่กามภพ เห็นรูปภพ อรูปภพได้ด้วย แม้จะขั้นที่๑ ก็สามารถเห็นนามรูปว่าเป็นองค์ประชุมที่ไม่มีนิวรณ์ ๕ ได้
๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
สายมิจฉาทิฏฐิ ก็เห็นว่า กายจะได้สว่างเหมือนกัน แต่สัญญากำหนดหมายต่างกัน สว่างเหมือนกัน องค์ประชุมรูปนามก็ต่างกัน พวกนี่นั่งหลับตาให้เจอความใสก็ใสลึกเข้าไปๆ ไม่รู้ว่าจะใสต่างกันอย่างไร ใสจนว่าคือพระพุทธเจ้า แต่จะใสอย่างไรก็มีหัวปุ่มกับไม่ปุ่ม เลยแตกเป็นสองกลุ่ม ก็เพราะเห็นกายต่างกัน ไปเห็นกายหัวปุ้มกับหัวแหลม เห็นใสเป็นพระพุทธเจ้าต่างกัน
แต่ของพระพุทธเจ้านี้สว่างแบบ มีตานอกตาในพร้อม มี จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลกา ซึ่งก็สัญญาว่าสว่างเหมือนกัน แต่กายที่ได้ต่างกัน เขาก็นั่งปั้นให้เห็นอาภัสรา โสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ ฯ จนเป็นพระพุทธเจ้าก็อาภัสราต่างกันไปอีก ก็ปั้นเอาทั้งนั้น
วิธีจำ กายต่างกันสัญญาต่างกัน_ กายต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกัน_ กายอย่างเดียวกัน สัญญาต่างกัน_ กายอย่างเดียวกันสัญญาอย่างเดียวกัน นี่วิธีจำ สัตตาวาส ๔ ข้อแรก
๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ ชั้นสุภกิณหะนี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔
ทั้งคู่ได้สิ่งน่าพึงใจทั้งคู่คือไม่มีอาการของสิ่งไม่น่าพึงใจ เป็นการดับ คือนิโรธ ของฝ่ายมิจฉาทิฏฐิก็ดับมืดดำ ไม่มีไปหมดเลย ไม่มีอะไรเหลือเลยไม่รู้สึกอะไร นี่คือสุภกิณหะ
ส่วนสายสว่าง ได้นิโรธด้วยบอกว่าเป็นเทพที่เป็นความงดงาม ของท่านประยุตต์บอกว่า เป็นพวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า ส่วนพวกอาภัสราท่านแปลว่าเป็นพวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป
พวกมิจฉาทิฏฐิ เข้าใจสภาวะไม่ได้ก็จะแปลไปตามพยัญชนะ คำว่ากิณหะ แปลว่าดำชั่ว ส่วนสุภะแปลว่าดีงามน่าพึงใจพอใจผู้ที่มีสัญญาว่าได้นิโรธก็ได้นิโรธทั้งคู่ น่าพึงใจทั้งคู่ แม้พวกมิจฉาทิฏฐิไปได้ความดำเขาก็ว่าเขาสุภะ เพราะเขาสัญญาเช่นนั้นจริง เขาว่าจะต้องได้ดับเวทนาหมดไม่เหลือ ดับสัญญาด้วย สัญญาเวทยิตนิโรธเขาก็ว่าดับทั้งเวทนาและสัญญา กายเขาก็ได้นิโรธดับดำมืด แต่ไม่ใช่กายกับสัญญาต่างกับพวกสัมมาทิฏฐินะ แต่ต่างกันตรงทิฏฐิที่สัมมากับมิจฉา
กายที่เขาได้ก็ได้อย่างที่เขาหมายคือดำ แต่ของสัมมาทิฏฐิได้นิโรธก็ดับ แต่ดับเวทนาอีกส่วนหนึ่งในเวทนาสอง ให้กลายเป็นหนึ่ง ดับส่วนที่ควรดับ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ในสูตรนี้แหละ
ล.๑๐ ข.๖๓
[๖๓] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นด้วยเหตุมี ประมาณเท่าไร
ก็บุคคลเมื่อเล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา ถ้าเวทนา
ไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา
อานนท์ หรือเล็งเห็นอัตตา ดังนี้ว่า
เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย จะว่าอัตตา ของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้อง
เสวยเวทนาอยู่ เพราะฉะนั้น อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา อานนท์ บรรดาความเห็น ๓ อย่าง
นั้น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา เขาจะพึงถูกซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส เวทนา
มี ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา บรรดาเวทนา ๓ ประการนี้ ท่านเล็ง
เห็นอันไหนโดยความเป็นอัตตา
อานนท์ ในสมัยใด อัตตา เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวย
ทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น อานนท์ ใน สมัยใดอัตตาเสวยทุกขเวทนาไม่ได้ เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา คง
เสวยแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ในสมัยใด อัตตาเสวยอทุกขมสุขเวทนา ใน
สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา คงเสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น
ดูกรอานนท์ เวทนาแม้ที่เป็นสุขก็ดี แม้ที่เป็นทุกข์ก็ดี แม้ที่เป็นอทุกขม สุขก็ดี
ล้วนไม่เที่ยง เป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งขึ้น มีความสิ้นความเสื่อม ความ คลาย และความดับ
ไปเป็นธรรมดา เมื่อเขาเสวยสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อสุขเวทนา
อันนั้นดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมมีความเห็น
ว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อ ทุกขเวทนาอันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไป
แล้ว เมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่ออทุกขมสุขเวทนา
อันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตา
ของเรานั้น เมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นเวทนาอันไม่เที่ยง เกลื่อนกล่นไปด้วยสุขและทุกข์
มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นอัตตาในปัจจุบันเท่านั้น เพราะเหตุนั้นแหละ
อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ผู้ที่
กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา เขาจะพึง
ถูกซักอย่างนี้ว่า ในรูปขันธ์ล้วนๆ ก็ยังมิได้มีความเสวยอารมณ์อยู่ทั้งหมด ใน รูปขันธ์นั้น ยัง
จะเกิดอหังการว่าเป็นเราได้หรือ ฯ
ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า ถ้าเวทนา ไม่เป็นอัตตา
ของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา แม้ด้วยคำดังกล่าว แล้วนี้ ส่วนผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตาของเราไม่ ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวย
เวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็
เพราะเวทนาจะต้อง ดับไปทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เหลือเศษ เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
เวทนาดับไป ยังจะเกิดอหังการว่า เป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์นั้นๆ ดับไปแล้ว ฯ
ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนาไม่เป็นอัตตา
ของเราแล้ว อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาเลยก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่
เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา แม้ด้วยคำ ดังกล่าวแล้วนี้ ฯ
(นี่คือดับเวทนาในส่วนที่ควรดับคือเคหสิตเวทนา เหลือเวทนาในส่วนที่ควรเหลือคือเนกขัมสิตเวทนา)
๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด มิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงนี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕
ขั้นนี้ผ่านรูป มาถึงอรูปแล้วก็ผ่านจากอุเบกขา จิตว่างแล้ว คือฌาน ๔ แล้วล่วงสู่อรูปฌาน ๑ คือบรรลุอากาสานัญจายตนะ คือโดยการทำใจในใจ
ใครเคยนั่งหลับตา ถึงอุเบกขาไม่มีนิวรณ์แล้วแต่มันไม่ใสก็กำหนดหมาย สัญญาต่อ แล้วจะหลุดสู่อากาศเลย มันไม่มีขอบฟ้า ว่างหาที่สุดมิได้เลย นี่คือพวกนั่งหลับตามิจฉาทิฏฐิ
สูงกว่า อุเบกขา คืออากาสานัญจายตนะ คือว่างเบายิ่งกว่าอุเบกขา คุณทำใจในใจ(มนสิการให้ได้) อาการนี้ให้ได้ คือว่างจากตัณหา ว่างจากภพ ที่เป็นกามภพ ภวภพ แม้จะมีกระทบสัมผัส(ปฏิฆสัมผัสโส)แบบไหนๆก็ตาม ไม่เกิดกิเลส โดยไม่ต้องทำใจในใจอีกเลยเพราะว่าทำได้โดยปกติอัตโนมัติแล้วนั่นเอง คือไม่ต้องทำเพราะผ่านได้แล้ว
จากรูปภพ มาสู่อรูปภพแล้ว ลักษณะของปฏิฆะ จะไปแปลว่าแค่ความไม่สบายใจก็จะได้ไม่ครบ ต้องมีทั้ง Action and reaction เกิด สภาพ ฆ คือปฏิกิริยากัน
ไม่ต้องทำใจแม้แต่ นานัตตะ คืออัตตาต่างๆ (นานะ + อัตตา) ในระดับที่ผ่านมาขั้นนี้ไม่ต้องแล้ว มันเป็นอรูปอัตตาแล้ว ที่ผ่านมาขั้นโอฬารกอัตตา มโนมยอัตตา ผ่านขั้นรูปมาแล้ว เหลืออรูป เป็นรูปที่ละเอียดกว่ารูป มันก็มีรูป เหมือนเวทนาจะบอกว่าไม่มีรูป มันก็มีรูปอยู่นะ ถ้าไม่มีสภาวะจริงก็จะเมาได้เลย
อสัญญา หรืออมนสิการ หรืออสังขาร อปุญญะ ถ้าแปลระนาบเดียวไม่ได้ หรือจะแปลอสัญญีสัตตายตนะว่า ไม่มีสัญญา นั้นไม่ได้ แต่ว่าต้องมีสัญญาที่ไม่ต้องทำให้หมดกิเลสอีกแล้ว
ถ้าผ่านมาถึงอากาสาฯก็คือผ่าน มาถึงปริเฉทรูปแล้ว ตั้งแต่ปสารูป กับโคจรรูป มาเป็นภาวรูป ๒ ทำให้เป็นเอกสโมสรณาได้ เป็นหนึ่งได้ จนมาถึงขั้นว่า อากาสาฯ ที่เป็น ๐ แต่ก็ยังมี ๑ นะเพราะอยู่โดยส่วนสองเราก็ยังไม่ตายนะแต่รู้สึกว่าง กว่าอุเบกขาแล้ว
นานัตตะสัญญาโดยอัตตาต่างๆ อัตตาต่างๆคือทำให้ตัวยากหมดแล้วเหลือแต่อัตตาที่เหลือ เช่นทำจากหลายให้เป็นหนึ่ง ทำให้เป็นปุงลิงค์ได้แล้ว กำลังจะทำให้เป็น นปุงสกลิงค์
๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
แม้หลับตาทำฌานที่ ๕ ได้คือวิญญานัญจาฯ คือตั้งแต่ อากาสาฯ ตนเองจะรู้สึกว่าว่าง แต่ไม่รู้ตัวเอง แต่ว่าถ้าเรารู้ตัวเองว่าเราอยู่กับความว่างคือรู้ตัวคือวิญญานัญจายตนะของนั่งสมาธิหลับตา รู้สึกตัวว่าเราทำไมเบาว่าง ไม่อยากจะออกจากตรงนั้นเลย แต่คนเข้าใหม่ๆจะอยู่ไม่นาน แต่คนทำบ่อยทำเก่งก็อยู่ได้นาน พอเข้าถึงอากาสาฯ คนที่ได้ใหม่ๆจะรู้ตัวช้า แต่คนที่ทำได้แล้วหลายทีจะรู้ตัวเร็วเป็นวิญญานัญจาฯเร็ว
ส่วนของสัมมาทิฏฐิ อากาสาฯ วิญญานัญจาฯจะไม่เหมือนในภพของนั่งหลับตา ของสัมมาทิฏฐิจะไม่มีภพ มันว่างโดยเป็นลำดับ โสดาบันก็ว่างจากอบายภูมิ อย่างรู้ว่าอบายภูมิมีเหตุปัจจัยจากปสาทรูป โคจรรูป มาเป็นภาวรูป ในอาหารรูป ๔ หทยรูป จนถึงปริเฉทรูป(อากาศ) ก็ได้หมด ไปถึงอากาสาฯ เป็นลืมตาเห็นหมดทุกอย่างว่าเป็นวิญญาณใสสะอาด ซึ่งกายไม่ได้เหมือนกับของมิจฉาทิฏฐิ ทั้งกำหนดสัญญาก็ต่าง กายก็ต่าง แต่ไม่ใช่อย่างวิญญาณฐิติข้อ ๑ แต่นี่เป็นข้อหลังแล้ว
ของมิจฉาทิฏฐิ ก็เป็นอุปาทานว่าว่าง แต่ไม่ได้ว่างจากอาการของกิเลสตัณหา มันอยู่ในภวังค์เป็นภพภูมิที่ว่าง แต่ว่าของพุทธว่างจากสิ่งที่เราจะให้ว่าง เช่นศาลานี้ว่างจากสัตว์ใหญ่เช่นไดโนเสาร์ แต่ไม่ว่างจากช้าง แต่ต่อมาเราก็ให้ช้างหมดไปอีกก็เหลือสัตว์ต่อไป มีลำดับความว่า โดยกำหนดได้ว่า อากาศคือรูป ส่วนวิญญาณคือนาม ก็ได้
๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗
อาตมาแปลว่า คือทำใจในใจไม่ให้มีอะไร…
พวกที่นั่งสมาธิหลับตา พอผ่านอากาสาฯ วิญญานัญจาฯก็ยังสว่างในภพอยู่ แต่ก็เรียนมาว่าต้องดับถึงจะดี ก็จึงดับมันอีก ทั้งอาฬารดาบสและอุทกดาบส ดับดำกิณหะเลย อาฬารดาบสดับได้แค่อากิญจัญญายตนะ ส่วนอุทกดาบสดับได้ละเอียดกว่า อาฬารดาบสเพราะมันรู้สึกแวบว่ายังมี
แล้วก็ดับเข้าไปอีก เลยไม่มีสัญญาเวทยิตนิโรธ ในของฤาษี ซึ่ง สัญญาเวทยิตนิโรธจะมีแต่ของพุทธเท่านั้น
ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
พวกนั่งหลับตาจะไปต่อสองอย่างนี้ไม่ได้ ต้องของพุทธเท่านั้นถึงจะมี อายตนะอีก ๒ นี้ได้
อสัญญีสัตตายตนะมีอายตนะสัมผัสอยู่ แต่ท่านพ้นแล้ว พ้นความเป็นสัตว์แล้วไม่ต้องศึกษาไม่ต้องกำหนดอีก หรืออาจบอกว่าไม่ต้องมนสิการแล้วก็ได้เพราะท่านได้มนสิการมาจนเสร็จจบแล้ว
เนวสัญญานาสัญญายตนะคือทำสัญญาให้ทะลุหมดเลยไม่ว่าไม่รู้หรือรู้ต้องรู้ให้หมด แทงทะลุหมดเลยจนไม่ต้องสัญญาคืออสัญญี อายตนะ ๒ นี้กลับไปกลับมาเฉพาะ มนายตนะกับ ธรรมายตนะ จิตกับธรรมทรงไว้ซึ่งความไม่เป็นสัตว์ ทรงไว้ซึ่งสัญญาที่ต้องล่วงพ้น ต้องผ่านเนวสัญญานาสัญญายตนะ ต้องรู้จนพ้นอวิชชาสวะ พ้นอวิชชาสังโยชน์ จึงจะจบอายตนะ ๒
วิญญาณฐีติต้องครบอายตนะ มีผัสสะ ๓จึงจะมีนามรูปของวิญญาณ มีนาม ๕ (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ)
จิตของคุณมีนิวเคลียสเป็น ๐ กับ ๑ โดยมีนิวตรอนกับโปรตอนทำงานกับอิเล็กตรอน ในนิวตรอนมีธรรมะสองแต่ไม่ทำงาน แต่ถ้ามีปฏิกิริยาก็จะแตกตัวมาทำงานเป็นจีโนมเป็นสาย เอกบุรุษโปรตอนเป็นตัวทำงานอย่างสุภาพ แต่อิเล็กตรอนทำงานอยู่รอบนอกเป็นอิตถีภาวะ ตัวทำงานเป็นโปรตอน ตัวพักคือนิวตรอน นิวเคลียสมี ๐ กับ ๑ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงไม่มีตัวกวนรวนเร หากมีอิเล็กตรอนด้วยจะเบี้ยวได้
แต่ทำงานอย่างมีอุเบกขา ๕ และมีวิการรูป ๕ ให้เบา ลหุตา โดยมีจิตมุทุตา หัวอ่อน เชิงปัญญาแววไว เชิงโจโตก็ปรับได้ง่ายตามบารมี แล้วกำหนดทำกรรมการงานได้อย่างเหมาะควรให้กายวิญญัติ วจีวิญญัติได้ตามกำหนด เป็นวิการรูป คือการงานอันวิเศษ เป็นอุตริมนุสธรรมสูง นี่คือลักษณะของรูปที่เกือบสุดท้ายแล้ว สุดท้ายก็เป็นลักขณรูปอีก ๔ ที่มีเกิด มีต่อ มีเสื่อม และไม่เที่ยงคืออุปจยะ สันตติ ชรตา และอนิจจตา ….จบ